“เมล็ดพันธุ์ข้าว” เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต หากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ และมีความเหมาะสม
กับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ จะส่งผลให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น และช่วยควบคุมต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีพื้นที่ปลูกข้าวราว 70 ล้านไร่ แต่กลับมีปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพมาโดยตลอด จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ปัจจุบันมีความต้องการใช้เมล็ดข้าวพันธุ์คุณภาพปีละประมาณ 1,364,800 ตัน แต่มีการผลิตได้เพียงประมาณ 537,000 ตัน หรือคิดเป็น 40% ของความต้องการใช้เท่านั้น
คุณละเอียด รุ่งทอง เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว วัย 63 ปี ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท อดีตพนักงานศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว ที่คลุกคลีอยู่ในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมานานกว่า 20 ปี ได้เห็นถึงโอกาสทางการตลาดนี้ จึงริเริ่มการปลูกพันธุ์ข้าวคุณภาพ ภายใต้แบรนด์ “ปัทมาพันธุ์ข้าว” จนสร้างความเชื่อมั่นให้พี่น้องเกษตรกร สามารถสร้างแบรนด์
ให้ติดตลาดยาวนานกว่า 12 ปี
คุณละเอียด เผยว่า สมัยก่อนนั้นตนเองเคยทำข้าวส่งโรงสี แต่บางปีนั้นพบปัญหาราคาผันผวน จึงเริ่มทดลองปลูกข้าวขายในรูปแบบเมล็ดพันธุ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการปลูก “ข้าว” เหมือนกัน แต่กระบวนการต่างๆ นั้นมีความแตกต่างจากเดิมมาก ต้องใส่ใจ ประณีตกับทุกขั้นตอน แต่ผลตอบแทนนั้นก็คุ้มค่า เพราะราคาเฉลี่ยนั้นสูงกว่า
ข้าวเปลือกค่อนข้างมาก
ปัจจุบันคุณละเอียด มีพื้นที่นากว่า 140 ไร่ สามารถผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพจำหน่ายถึง 3 รอบ/ปี มาดูกันว่าเกษตรกรหญิงแกร่งคนนี้ มีเคล็ดลับการผลิตอย่างไรเพื่อ
ให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพเป๊ะ! แถมยังน้ำหนักดีมากกว่า 1 ตัน/ไร่
พื้นที่นาข้าวกว่า 140 ไร่ ของคุณละเอียด ต้นเขียวสมบูรณ์ รวงข้าวเริ่มชู แข็งแรง
การปลูกข้าวเพื่อผลิต “พันธุ์ข้าว” ต้องมีการวางแผน
การผลิตพันธุ์ข้าวปลูกให้ประสบความสำเร็จ เกษตรกรผู้ผลิตพันธุ์ข้าวจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบหลายด้าน ทั้งกระบวนการผลิต การตลาด โดยเฉพาะการเตรียมแปลงต้องดูแลอย่างประณีต เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานมากที่สุด
การวางแผนเริ่มตั้งแต่ “เตรียมพื้นที่" สำหรับปลูกพันธุ์ข้าว คือ ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดการเพาะปลูก และหากเป็นแปลงที่ผ่านการปลูกข้าวมาก่อน ต้องมีการจัดการเรื่อง "พันธุ์ปน" อย่างละเอียด เนื่องจากหัวใจสำคัญของการผลิตเมล็ดพันธุ์ คือ ต้องมีการคัดพันธุ์ปนออกให้ได้มากที่สุด
โดย “เมล็ดพันธุ์จำหน่าย” (Certified seed) ที่ได้มาตรฐาน ต้องมีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 90% มีความงอกไม่น้อยกว่า 80% และมีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่นปนไม่เกิน 20 เมล็ด
ใน 500 กรัม และเมล็ดวัชพืชที่เป็นข้าวแดงปนไม่เกิน 10 เมล็ดใน 500 กรัม
สำหรับการคัดพันธุ์ปนนั้น ปกติจะอาศัยการสังเกตตามระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าวช่วงที่สำคัญ เช่น ระยะแตกกอ ระยะข้าวออกดอก ระยะข้าวโน้มรวง และระยะก่อน
การเก็บเกี่ยว หากพบต้นข้าวที่มีลักษณะแตกต่างกับต้นข้าวส่วนใหญ่ เกษตรกรควรถอนทิ้งทันที
นอกจากนี้ คุณละเอียด ยังเน้นในเรื่องการ "คัดเลือกสายพันธุ์ข้าว" ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกรด้วย โดย "สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่" จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง ทนต่อสภาพอากาศ และต้านทานโรค-แมลงศัตรูพืช ถือเป็นการลดการใช้สารเคมีได้อีกทางหนึ่ง
ขณะที่การเลือก “สายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก” ก็จะช่วยให้ผลผลิตของเราเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเบื้องต้นอาจเน้นเจาะตลาดในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงก่อน โดยปัจจุบันคุณละเอียดจะเน้นปลูกข้าวพันธุ์ กข41, กข57 และพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นหลัก
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปลูกข้าวสายพันธุ์ใด เกษตรควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน ได้รับการรับรองจากกรมการข้าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีพันธุ์ปน และมีอัตรางอกสูง
คุณละเอียด จะเน้นปลูกข้าวสายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเมล็ดพันธุ์ออกมานั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแน่นอน
เตรียมแปลงถูกวิธี ช่วยต้นข้าวรากเดินดี กำจัดวัชพืชได้มีประสิทธิภาพ
การเตรียมดินและการปรับระดับพื้นที่ให้เหมาะสมนั้น ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของข้าว และมีส่วนช่วยในการควบคุมวัชพืชอย่างมาก
คุณละเอียดจะมี 3 ขั้นตอนหลัก ในการเตรียมดิน คือ
คุณละเอียด เน้นว่า การทำเทือกและการปรับระดับพื้นที่นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ต้นข้าวเกาะดินได้ดี รากเดินได้สะดวก ไม่หงิกงอ และยังช่วยให้หญ้าขึ้นช้าอีกด้วย แต่หากพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ จะทำให้น้ำเข้านาได้ไม่ทั่วถึง มีผลต่อความสม่ำเสมอของต้นข้าวด้วยเช่นกัน
“เพาะกล้า” อย่างมืออาชีพ ช่วยเพิ่มอัตราการงอกชัวร์
การเพาะเมล็ดพันธุ์ให้ได้ต้นกล้าคุณภาพ มีอัตราการงอกดี คุณละเอียดจะใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำลาย และอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ขาดไม่ได้ คือ ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะ
คุณละเอียดจะแช่เมล็ดพันธุ์ (ทั้งกระสอบ) ลงในน้ำที่ผสมกับ “อโทนิค” อัตราส่วน 100 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดข้าวดูดน้ำเข้าไปใช้ในกระบวนการงอก จากนั้นนำกระสอบเมล็ดพันธุ์ขึ้นจากน้ำ และบ่มต่ออีก 24 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการเกิดราก โดยวิธีนี้จะช่วยให้ข้าวมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและสม่ำเสมอ ไม่มีเมล็ดลีบ ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง รากสมบูรณ์ เดินรากดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นของผลผลิตที่มีคุณภาพ
สำหรับการนับเวลาในการเพาะกล้า จะนับตั้งแต่เริ่มโรยกล้าลงในถาดเพาะ จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน (ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด) เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า พร้อมนำไปปักดำด้วยเครื่องปักดำได้เลย
“อโทนิค” ช่วยให้ข้าวแตกตุ่มตาง่าย เพิ่มอัตรางอก รากสมบูรณ์
เทคนิคการบำรุงธาตุอาหารเพิ่มผลผลิต ช่วยให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพ น้ำหนักมากกว่า 1 ตัน/ไร่
คุณละเอียด เล่าว่า ในจังหวัดชัยนาท พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนาดินเหนียว โดยคุณละเอียดจะแบ่งขั้นตอนการบำรุงให้สอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโต ดังนี้
- ช่วงอายุ 25-30 วัน (ระยะต้นกล้า) ใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ ช่วยบำรุงต้นและใบให้มีความสมบูรณ์
ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ช่วยบำรุงต้นและใบข้าว “ระยะต้นกล้า” ให้เขียวสมบูรณ์
- ช่วงอายุ 45-50 วัน (ระยะแตกกอ) ใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-20-0 ผสมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 (สัดส่วน 2:1) อัตรา 30 กก./ไร่ ช่วยให้ข้าวแตกกอได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วงอายุ 55-70 วัน (ระยะรับรวง หรือรับท้อง) ใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ช่วยให้ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดเต่ง แข็งแรง ไม่ลีบ
ช่วงอายุ 55-70 วัน ข้าวต้องการสารอาหารเพื่อนำไปสร้างรวง หากได้รับการบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 จะช่วยให้ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดเต็ม
คุณละเอียด เผยว่า ตนเองนั้นทำนามาตั้งแต่อายุ 15 ปี รวมระยะเวลาก็มากกว่า 50 ปีแล้ว การทำนาในอดีตนั้นมีความแตกต่างจากปัจจุบันมาก เนื่องจากสมัยก่อนดินยังมีความสมบูรณ์ แต่มาในรุ่นของตนเองนั้นธาตุอาหารในดินลดลง ทำให้ต้องบำรุงดินเพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ซึ่ง “ปุ๋ยตรากระต่าย” นั้นเป็นตัวช่วยในการบำรุงดินได้เป็นอย่างดี เคยลองสลับไปใช้แบรนด์อื่น ก็ปรากฏว่าผลลัพธ์สู้ไม่ได้ จากนั้นก็เลยเชื่อมั่นใน “ปุ๋ยตรากระต่าย” มาโดยตลอด เพราะช่วยให้ต้นข้าวเขียว แตกกอดี เมล็ดข้าวก็สมบูรณ์ ได้น้ำหนักดีจริง โดยปัจจุบันนั้นสามารถทำผลผลิตต่อไร่ได้มากกว่า 1 ตัน
คุณละเอียด ไว้ใจ “ปุ๋ยตรากระต่าย” ช่วยบำรุงข้าวในทุกช่วงอายุการเจริญเติบโต ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพชัวร์
ควบคุมปริมาณน้ำ ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ ของการทำนา
นอกจากการบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การควบคุมปริมาณน้ำในแปลง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพเช่นกัน
โดยเฉพาะระยะ 30 วันแรกหลังการปักดำ คุณละเอียด จะเฝ้าระวังไม่ให้ข้าวขาดน้ำ เพราะจะทำให้วัชพืชขึ้นมาแย่งอาหาร และป้องกันข้าวดีดได้ ส่วนอีกช่วงที่สำคัญคือ ระยะสร้างรวงถึงระยะออกดอก ควรรักษาระดับน้ำในแปลงให้สูงจากพื้นดินประมาณ 5-10 เซนติเมตร และหมั่นสังเกตระดับน้ำให้คงที่ตลอดเวลาจนกระทั่งข้าวออกรวง เพื่อป้องกันไม่ให้
เมล็ดข้าวลีบ
คุณละเอียด เน้นว่า “น้ำ” ไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยสำหรับการเจริญเติบโตของข้าวเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในการควบคุมวัชพืช ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วย
ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอตลอดฤดูกาลผลิต อย่างกรณีของตนเองที่ทำนาหมุนเวียนทั้งหมด 3 รอบ/ปี คือ รอบที่1 พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ รอบที่2
เมษายน-กรกฎาคม และรอบที่3 สิงหาคม-พฤศจิกายน ต้องอาศัย “บ่อบาดาล” ไว้เป็นแหล่งน้ำสำรองเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน แต่ปัจจุบันนั้นฝนฟ้าไม่ได้ตกตามฤดูกาลเหมือนสมัยก่อน หากไม่เตรียมรับมือจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้
ช่วงสำคัญที่ไม่ควรขาดน้ำคือระยะตั้งท้องจนออกรวง ถ้าขาดน้ำเมล็ดข้าวจะลีบมาก
“ปรับตัว-ต่อยอด”เคล็ดลับสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด
คุณละเอียด เผยว่า ก้าวสำคัญของการผลิต “เมล็ดพันธุ์ข้าว” ให้ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่เกษตรกรจะฝากความหวังผลผลิตไว้ที่เมล็ดพันธุ์ของเรานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยสิ่งหนึ่งที่ช่วยยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพขึ้นอย่างชัดเจนคือ การนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาใช้ เช่น การเลือกใช้ “รถดำนา” เนื่องจากรถดำนานั้นสามารถปรับตั้งระยะปลูกได้ ทำให้ต้นข้าวเป็นระเบียบ อีกหนึ่งข้อดีคือมองเห็นวัชพืชและทำให้สามารถจัดการกับวัชพืชที่จะเจริญเติบโตไปพร้อมกับข้าวที่ปลูกได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการใช้ “รถเกี่ยวข้าว” เก็บเกี่ยวผลผลิต ก็สามารถควบคุมพันธุ์ปนได้ง่ายกว่าการเกี่ยวโดยใช้แรงงานคนเช่นกัน (หากทำความสะอาดรถเกี่ยวข้าวก่อนเก็บเกี่ยวทุกครั้ง)
“รถดำนา” นอกจากจะช่วยทุ่นแรงแล้ว ยังช่วยให้ต้นข้าวเรียงแถวเป็นระเบียบ ง่ายต่อการสังเกตพันธุ์แปลกปลอม
นอกจากนี้ ในมุมของการตลาด ก็ได้ลูกๆเข้ามาช่วยดูเรื่องช่องทางจำหน่ายออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊ก “ปัทมาพันธุ์ข้าว” และก็ได้มีการสร้างทางเลือกใหม่ เพื่อเพิ่มจุดขายมากขึ้น เช่น จากเดิมที่เน้นการผลิตข้าวพันธุ์ กข41, กข57 และปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้ายอดนิยม ก็ได้เพิ่มการผลิต “พันธุ์ กข85” ขึ้นมา เนื่องจากเริ่มมีกระแสความต้องการของเกษตรกรมากขึ้น และหากจับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้ ก็อาจจะขยายตลาดได้มากขึ้นเช่นกัน
กว่าจะมาเป็น “ผลผลิตที่มีคุณภาพ” เบื้องหลังคือ “เมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ที่ผ่านกระบวนการปลูก การดูแลอย่างพิถีพิถัน และการบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพในทุกช่วงการเจริญเติบโต ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ “ปัทมาพันธุ์ข้าว” กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน สามารถรักษาตลาดมาได้อย่างยาวนานกว่า 10 ปี
เมล็ดข้าวเต่ง เต็มรวง เตรียมพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวเป็นเมล็ดพันธุ์คุณภาพ
ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากปุ๋ยตรากระต่าย เพิ่มเติมได้ที่
Facebook: www.facebook.com/puitrakratai/
YouTube: www.youtube.com/c/Puitrakratai
TikTok: https://www.tiktok.com/@puitrakratai
ข้อมูลสินค้าปุ๋ยตรากระต่าย : https://www.chiataigroup.com/business/fertilizer/Puitrakratai-Rice-Fields