สำหรับพืชตระกูลส้มที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมานาน แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ “ส้มโอ” รวมอยู่ด้วย โดยส้มโอที่ปลูกในประเทศไทยนั้นมีหลายสายพันธุ์ เช่น ขาวน้ำผึ้ง ขาวใหญ่ ขาวแตงกวา ทองดี และท่าข่อย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีรูปทรงและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน มีตลาดรองรับหลากหลาย และมีศักยภาพส่งออกสูง เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพที่โดดเด่น คือ มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานโดยที่คุณภาพยังคงเดิม อีกทั้งยังมีรสชาติดีขึ้นด้วย
จังหวัดพิจิตร เป็นอีกแหล่งปลูกส้มโออันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ อ.โพธิ์ประทับช้าง แห่งเดียวนั้นมีการปลูกส้มโอมากกว่า 10,000 ไร่ และครั้งนี้พาไปพูดคุยกับ “คุณวิฑูรย์ ภู่บุตร” เกษตรกรสวนส้มโอผู้มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอมากกว่า 20 ปี เขาใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี สามารถขยายพื้นที่ปลูกจาก 10 ไร่ เป็น 100 ไร่ และปัจจุบันปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาเกรดส่งออก สร้างรายได้ทะลุหลักล้านต่อปีเลยทีเดียว
คุณวิฑูรย์ เล่าว่า ช่วงเริ่มต้น 7 - 8 ปีแรก ตนปลูกส้มโอพันธุ์พื้นเมือง “ท่าข่อย” บนพื้นที่ 15 ไร่ ก่อนจะหันไปปลูกพันธุ์ “ขาวแตงกวา” ซึ่งมีจุดเด่นที่รสชาติอร่อย หวานนำ เนื้อขาวอมเหลือง กุ้งและกลีบใหญ่ ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ได้รับความนิยมและมีตลาดส่งออกรองรับ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีนและฮ่องกง
แม้ว่าความต้องการส้มโอในตลาดต่างประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การผลิตส้มโอให้ได้มาตรฐานเพียงพอสำหรับการส่งออกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย...ทั้งหมดนั้นมีแนวทางอย่างไร?
หาคำตอบได้จากคุณวิฑูรย์ จะมาเผยเคล็ดลับการบำรุงกันแบบทุกขั้นตอน
‘ยกร่อง-ปลูกห่าง-ยกโขด’
เคล็ดลับส้มโอต้นงาม โตไว
การปลูกส้มโอให้มีต้นสมบูรณ์ ในแบบฉบับของคุณวิฑูรย์ เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูกอย่างเหมาะสม คือต้องเป็นพื้นที่เนิน ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน และใช้วิธีการปลูกแบบยกร่อง เพื่อช่วยระบายไม่ให้น้ำขังและน้ำท่วมในฤดูฝน ป้องกันการเกิดโรครากเน่าหรือโคนเน่า
นอกจากนี้ คุณวิฑูรย์ให้ความสำคัญกับการจัดการแปลงปลูก โดยแนะนำให้เว้นระยะห่างระหว่างแถว 8 เมตร และระหว่างต้น 7 เมตร (8X7 เมตร) ข้อดีคือสามารถแต่งพุ่มใหญ่ได้ง่าย ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี ส่งผลให้ต้นส้มโอโตเร็วและให้ผลผลิตต่อต้นสูง และยังสะดวกต่อการนำเครื่องจักรทางการเกษตรเข้าไปเพื่อทำการไถยกร่อง หรือปรับปรุงพื้นที่ได้ง่ายขึ้น
สำหรับเทคนิคการปลูกส้มโอให้โตเร็ว คุณวิฑูรย์แนะนำวิธี “การยกโขด” คือการพูนดินขึ้นให้สูงกว่าระนาบ ก่อนจะขุดดินบนโขดลงมาเล็กน้อยเพื่อลงต้นส้มโอ วิธีนี้จะทำให้รากต้นส้มโออยู่ไม่ลึกเกินไป เมื่อทำการบำรุงธาตุอาหาร จะช่วยให้ต้นส้มโอได้รับธาตุอาหารได้รวดเร็ว และบำรุงต้นส้มโอให้โตเร็วในระยะต้น
วางระบบให้น้ำรักษาความชื้น
หมดปัญหาส้มโอขาดน้ำ
คุณวิฑูรย์ อธิบายว่า ธรรมชาติของส้มโอจะเป็นพืชที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขังหรือแฉะ นอกจากการเตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องช่วยเรื่องการระบายน้ำภายในแปลงแล้ว การให้น้ำจึงเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญ เพื่อช่วยให้ต้นส้มโอไม่ขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง
“การวางระบบน้ำของผม จะใช้สปริงเกอร์ วางหัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ห่างจากโคนต้นประมาณ 1.5 เมตร ทำให้รัศมีการกระจายน้ำตามแนวรากของต้นได้พอดี แค่นี้ก็หมดกังวลเรื่องส้มโอจะขาดน้ำแล้ว ส่วนความถี่ของการให้น้ำก็สำคัญ ในช่วงที่ส้มโอโตระยะต้นอายุประมาณ 1-3 ปี เป็นช่วงที่ต้องการน้ำในปริมาณมากและสม่ำเสมอ หลังจากต้นส้มโออายุ 3 ปีขึ้นไป จึงเริ่มให้น้ำประมาณ 3 วันต่อหนึ่งครั้ง นานครั้งละครึ่งชั่วโมง”
ใช้หัวจ่ายน้ำแบบ “มินิสปริงเกอร์” ห่างจากโคนต้นประมาณ 1.5 เมตร เพื่อให้ต้นส้มโอได้รับน้ำปริมาณสม่ำเสมอ ไม่มากในคราวเดียว
บำรุงธาตุอาหารดี-ถูกจังหวะ
เคล็ดลับได้ผลผลิตติดเต็มต้น
ส้มโอนั้นจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปี หลังปลูก และจะให้ผลผลิตต่อเนื่องนานถึง 20-30 ปี แต่หัวใจสำคัญของการได้ผลผลิตที่สมบูรณ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะดูแลต้นส้มโอให้มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด
คุณวิฑูรย์ แบ่งปันประสบการณ์ให้ฟังว่า ตนเองนั้นมีเทคนิคการดูแลส้มโอแบ่งเป็นช่วงเวลา แบ่งการบำรุงธาตุอาหารเป็นระยะ โดยให้ความสำคัญกับการให้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในช่วงที่แตกต่างกัน
ในช่วง 1-3 ปีแรกที่ต้นส้มโอยังไม่ให้ผล จะบำรุงต้นส้มโอด้วยปุ๋ยคอกปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย และใช้ฟางคลุมดินหลังจากฤดูฝน เพื่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน โดยจะทำเช่นนี้จนกว่าต้นส้มโอจะเริ่มติดดอก จึงจะขยับไปบำรุงธาตุอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของต้นส้มโอ ด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 หรือ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ความถี่ประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี ดังนี้
การบำรุงส้มโอช่วงก่อนติดดอก
ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ช่วยบำรุงให้ต้นส้มโอแตกใบอ่อนได้ดี
ส้มโอแตกใบอ่อนเตรียมพร้อมสำหรับการออกดอก
การบำรุงส้มโอช่วงติดดอก-ติดผลอ่อน
ระยะที่ดอกส้มโอเริ่มโรย
ระยะที่ดอกโรยจนหมด
ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-9-20 เหมาะกับไม้ผล ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้ส้มโอขยายขนาดผลได้
การบำรุงส้มโอช่วงติดผล-ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกของแต่ละปีแล้ว คุณวิฑูรย์จะตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูต้นด้วยการใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู เพื่อเตรียมพร้อมให้กับส้มโอในรุ่นถัดไป
“ข้อดีของปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู คือละลายน้ำได้ดี ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้เร็ว และจากที่สังเกตด้วยตัวเอง การบำรุงธาตุอาหารในทุกระยะพบว่าปุ๋ยตรากระต่ายทำให้ใบของต้นส้มโอเขียวนาน ช่วยให้ต้นไม่โทรม เพราะยิ่งใบเขียวมัน เงา มากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่า ต้นส้มโอมีความสมบูรณ์ และมีอายุการให้ผลผลิตกับเราไปอีกนาน” เกษตรกรผู้ใช้จริงยืนยัน
ปลูกแซมต้นใหม่ ทดแทนส้มโอแก่
ได้ผลผลิตคงที่ทันใช้
ส้มโอ เป็นไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 20-30 ปี โดยจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อต้นมีอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ส้มโอสามารถให้ผลผลิตได้ยาวนานนั้นขึ้นอยู่กับการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ การดูแลรักษาต้นให้แข็งแรงไม่เป็นโรค และที่สำคัญต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม หากปล่อยให้มีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ จะทำให้ทรงพุ่มของต้นส้มแน่นทึบ ต้นสูง ออกดอกติดผลน้อย หรือหากติดผลก็ไม่สมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หากมีการตัดแต่งกิ่งมากจนเกินไป ก็จะทำให้ผลผลิตรุ่นถัดไปน้อยเช่นกัน ดังนั้น เกษตรบางส่วนจึงเลือกที่จะโค่นต้นส้มโอที่อายุมากและอ่อนแอทิ้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่การหมุนเวียนอากาศภายในแปลงและการรับแสงให้ส้มโอต้นที่เหลือ โดยหลังจากโค่นต้นส้มโอไปบางส่วนแล้ว จะทำการปลูกต้นใหม่แซม เพื่อให้ต้นส้มโอรุ่นใหม่สามารถเติบโตให้ผลผลิตได้ทันกับที่ส้มโอรุ่นเดิมเริ่มอายุมากขึ้นจนให้ผลผลิตลดลง
คุณวิฑูรย์ เล่าว่า “ต้นส้มโอที่เริ่มอายุมาก ส่วนใหญ่จะโค่นแล้วปลูกใหม่ ต้นที่ปลูก 10 กว่าปีขึ้นไปเริ่มติดลูกยาก พออายุเยอะผลผลิตที่ได้ก็จะลูกเล็กลง บางครั้งก็จะไม่ได้มาตรฐานไซส์ส่งออกต่างประเทศ ถ้าหลังจาก 10 ปีขึ้นไป ผลผลิตออกน้อยก็จะใช้วิธีการปลูกแซม และตัดต้นที่อายุเยอะทิ้ง โดยเฉลี่ย 15 ปีขึ้นไป ก็จะเริ่มปลูกแซมเพราะต้นแก่ และไม่คุ้มกับการลงทุน”
ผลผลิตมาตรฐาน GAP
เพิ่มโอกาสส่งออก-สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค
“ส้มโอเกรดส่งออก” นั้นต้องได้มาตรฐานทั้งในเรื่องของสายพันธุ์ รูปทรง ขนาด น้ำหนัก และรสชาติ โดย “ผล” จะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.8 - 1.8 กิโลกรัม หากมีขนาดใหญ่เกินไปก็อาจจะตกเกรดเอได้ “รูปทรง” จะต้องกลมแป้น บริเวณขั้วไม่เป็นทรงโดม เนื่องจากจะสูงเกินขนาดกล่อง ด้าน “รสชาติ” ต้องหวาน เนื้อขาวอมเหลือง กลีบโต กุ้งใหญ่ ตรงตามเอกลักษณ์ของพันธุ์ขาวแตงกวา
โดยปัจจัยสำคัญที่จะชี้วัดว่าส้มโอนั้นจะได้คุณภาพส่งออกหรือไม่ คือ “ผิว” ภายนอกของส้มโอต้องสวย เรียบเนียน ไม่ถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนแปะใบ ซึ่งมักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน ส่งผลให้ใบหงิกงอ ดอกแห้งไม่ติดผล ส่วนผลที่ถูกเพลี้ยไฟโจมตีจะเกิดรอยแผลสีเทา ทำให้ส้มโอเสียราคา โดยช่วงระยะทำดอก หรือประมาณเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเพลี้ยไฟเป็นพิเศษ
“ส้มโอเกรดส่งออก” ผิวสวยไม่เป็นโรค ผลน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.8-1.8 กิโลกรัม
ทั้งนี้ นอกเหนือจาก “คุณภาพ” แล้ว “ความปลอดภัย” ถือเป็นอีกคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ของการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก โดยคุณวิฑูรย์จะต้องมีการจัดการภายในแปลงให้ถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP ที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร โดยมีหลักการสำคัญคือ พื้นที่ปลูก-แหล่งน้ำต้องไม่มีสารปนเปื้อน ไม่มีการใช้สารต้องห้ามในพื้นที่ปลูก และต้องมีการจดบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิตอย่างละเอียดต่อเนื่อง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
“การทำเกษตรของเราต้องซื่อสัตย์ผู้บริโภคด้วย เราต้องดูแลส้มโอของเราให้ดี นอกจากผิวสวย น้ำหนักตามเกณฑ์แล้ว แปลงปลูกของเราต้องปลอดสารตกค้างตามมาตรฐาน GAP ด้วย โดยเฉพาะระยะที่ส้มโอเริ่มแก่ เจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร จะเข้ามาตรวจสอบเพื่อดูว่าผลผลิตของเราปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ก่อนจะถึงมือผู้บริโภคหรือไม่ ดังนั้นในระหว่างการเพาะปลูกจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้สารเคมีอย่างมาก โดยผมจะหยุดพ่นสารเคมีประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บผลผลิต เพื่อให้ผลผลิตไร้สารตกค้าง และมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคปลายทางได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพ” คุณวิฑูรย์กล่าว
การปลูกส้มโอให้ได้มาตรฐานส่งออก ต้องเริ่มตั้งแต่การจัดการแปลงปลูก การให้น้ำอย่างเหมาะสม การป้องกันโรคพืช-แมลงอย่างถูกหลักและปลอดภัย เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานตามระบบ GAP นอกจากนี้การดูแลใส่ใจบำรุงธาตุอาหารอย่างเหมาะสม เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ตรงความต้องการของตลาด
การเลือกใช้ปุ๋ยคุณภาพดี ปุ๋ยตรากระต่าย ทำให้เกษตรกรมั่นใจ ผลผลิตดีเต็มสวน คุณภาพเต็มร้อย ชัวร์ เด๊ะ เด๊ะ!!
ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา เนื้อขาวอมเหลือง กลีบโต กุ้งใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด
คุณวิฑูรย์ บำรุงธาตุอาหารเหมาะสมกับความต้องการของต้นส้มโอ จนได้ผลผลิตดกติดเต็มต้น
สามารถติดตามสาระเกษตรน่ารู้ ได้ที่
คลิก เคล็ดลับปลูก "ส้มโอคุณภาพ" เปลือกบาง กุ้งใหญ่ รสชาติหวานกรอบ
ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากปุ๋ยตรากระต่าย เพิ่มเติมได้ที่
Facebook: www.facebook.com/puitrakratai/
YouTube: www.youtube.com/c/Puitrakratai
ข้อมูลสินค้าปุ๋ยตรากระต่าย : www.chiataigroup.com/business/fertilizer/puitrakratai