เจาะเทคนิค! ปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่ จากเกษตรกรมืออาชีพ ตัวจริง เสียงจริง แห่งแดนอีสาน

       ข้าวเหนียว เป็นพืชที่นิยมเพาะปลูกและบริโภคเป็นอย่างมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่การปลูกอยู่ที่ 16.7 ล้านไร่ นอกเหนือจากการนำมาบริโภค ข้าวเหนียวยังนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูป เช่น การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร การผลิตสุราพื้นบ้าน เป็นต้น จึงทำให้ข้าวเหนียวได้รับความต้องการเป็นอย่างมากในพื้นที่  

 

       วันนี้ขอพาทุกท่านไปเจาะเคล็ดลับการปลูกพันธุ์ข้าวเหนียว บนพื้นที่กว่า 380 ไร่ ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ กับ พี่นิรัตน์ พรหมมี เกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่รู้จักศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ในการวางแผน และการจัดการดูแลพันธุ์ข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่ ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ตันต่อไร่ ซึ่งแตกต่างจากการปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวแบบทั่วไป ที่มีผลผลิตอยู่ที่ 600-800 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น 

 

       นอกจากการปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวแล้ว พี่นิรัตน์ยังเปิดร้านค้าทางเกษตรแบบครบวงจร จำหน่ายปุ๋ยและเคมีเกษตรให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ควบคู่กับการเป็นเจ้าของธุรกิจการจำหน่ายพันธุ์ข้าว ในชื่อแบรนด์ ไหมแก้ว มิ่งขวัญขายดิบขายดีในแถบภาคอีสาน จนได้ฉายาข้าวเหนียวเงินล้าน 

พี่นิรัตน์ กับ พันธุ์ข้าวเหนียว แบรนด์ ไหมแก้ว มิ่งขวัญ 

 

 

จากหนุ่มออฟฟิศ สู่เกษตรกรหัวก้าวหน้า 

ปั้นแบรนด์พันธุ์ข้าวเหนียว ไหมแก้ว มิ่งขวัญ ตีตลาดภาคอีสาน 

 

       พี่นิรัตน์เล่าให้ฟังว่า หลังจากแต่งงานกับภรรยาจึงย้ายกลับมายังบ้านเกิดในจังหวัดกาฬสินธุ์ ผันตัวเองจากพนักงานบริษัทมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเป็นระยะเวลากว่า 15 ปีแล้ว ร่วมกับการเปิดร้านขายสินค้าเกษตรแบบครบวงจร และเห็นโอกาสช่องทางการสร้างรายได้จากการปลูกและขายพันธุ์ข้าวเหนียว  

 

       การลงมือทำนาของพี่นิรัตน์ เริ่มต้นขึ้นในพื้นที่นาของพ่อตาแม่ยาย ก่อนจะเริ่มขยับขยายพื้นที่ในการเพาะปลูก จนปัจจุบันมีผืนนาทั้งหมด 380 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร นครพนม และกาฬสินธุ์ อยู่ในเขตชลประทาน สามารถปลูกได้ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง โดยมีการแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ กข 22 จำนวน 300 ไร่ และปลูกข้าวหอมมะลิ จำนวน 80 ไร่ (มีทั้งสายพันธุ์พิษณุโลก 2 และข้าวสายพันธุ์ที่นำเข้าจากภาคกลาง) เพื่อบริโภคและจำหน่ายในพื้นที่ จากจุดนี้จึงเป็นโอกาสและช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับพี่นิรัตน์ จึงนำมาสู่การพัฒนาและต่อยอดพันธุ์ข้าวเหนียวของตนเอง โดยใช้ชื่อ ไหมแก้ว มิ่งขวัญที่ลงมือปลูก จำหน่ายและทำการตลาดด้วยตนเอง จนทำให้เป็นที่รู้จักและติดตลาดในระยะเวลาเพียงช่วงสั้นๆ  

พันธุ์ข้าว กข 22 ที่มีความสมบูรณ์ มีลักษณะเรียว สวย เต็มเมล็ด 

 

      ซึ่งเหตุผลที่เลือกปลูกพันธุ์ข้าวเหนียว กข 22 นั้น เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคและแมลง มีเปอร์เซ็นต์การงอกของต้นกล้าสูง เหมาะในการปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อนำมาหุงหรือนึ่งจะมีกลิ่นหอม ชวนหิว หากใครได้ลิ้มลองรสชาติ ต้องติดใจเป็นแน่ รวมถึงมีตลาดรองรับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต มากกว่าการปลูกข้าวเปลือกหรือข้าวเจ้า ถึงกิโลกรัมละ 10 บาท และสามารถขายผลผลิตได้ตลอดทั้งปี 

รวงใหญ่ เมล็ดเต่ง ข้าวออกสุดรวง 

 

 

แนะเทคนิคปลูกข้าวเหนียวแบบมืออาชีพ  

ใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมแปลง เพาะกล้า 

 

       เมื่อถามถึงวิธีการปลูกข้าวเหนียวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือสไตล์พี่นิรัตน์ เกษตรกรมือฉมัง เปิดเผยว่า ทุกขั้นตอนที่ลงมือทำจะต้องอาศัยความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้นาดำแทนนาหว่าน เพื่อลดปริมาณพันธุ์ข้าวปนในแปลงปลูก ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จากการเดินสำรวจต้นข้าวที่งอกนอกเหนือจากแถวที่ปักดำ หากเจอให้สันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์ข้าวปนและต้องรีบดำเนินการถอนทิ้งทันที วิธีนี้ช่วยลดปัญหาการเจือปนของพันธุ์ข้าวในแปลงนาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พี่นิรัตน์ยังให้ความสำคัญเรื่องการกำจัดวัชพืชในแปลงนา เพื่อให้ได้ข้าวที่แข็งแรง เต็มเมล็ด ออกสุดรวง ได้มาตรฐานที่ต้องการ 

 

       การปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวในแปลงนาจะเริ่มต้นด้วยขั้นตอนการลงมือเพาะกล้าในถาดหลุม เมื่อต้นกล้าอายุ 4-5 วัน จะนำฮิวมิคหรือสารปรับปรุงโครงสร้างภายในดินผสมน้ำรดที่ต้นกล้า เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ในปริมาณ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร นอกจากนี้พี่นิรัตน์ยังแนะนำว่า ต้นกล้าที่จะนำลงไปปักดำในแปลงนา ควรมีอายุประมาณ 18 วัน เพราะเป็นช่วงอายุที่ข้าวมีเปอร์เซ็นตการงอกเร็วที่สุด 

เตรียมการลงกล้า 

 

       ถัดมาในเรื่องของการเตรียมแปลงปลูก หลังจากเก็บเกี่ยวพี่นิรัตน์จะเริ่มไถแปรพลิกหน้าดิน และตากดินไว้ 14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน หลังจากนั้นจึงทำการทำเทือก และปล่อยน้ำเข้านา ต่อด้วยการใช้รถไถขนาดเล็กไถคาดแปลงนาให้สม่ำเสมอ พร้อมชักร่องดึงน้ำออกจากแปลงนา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและยึดเกาะดินได้ดี ผลผลิตมีคุณภาพ ขั้นตอนต่อมาคือปักดำนาในเครื่องปักดำในวันรุ่งขึ้น 

เครื่องจักรการเกษตร กำลังลงกล้าในแปลง 

 

       พี่นิรัตน์ บอกต่อเทคนิคให้ฟังว่า เราควรเข้าใจธรรมชาติของพืชแต่ละชนิด โดยต้องหมั่นศึกษาและใส่ใจกับพืชที่ปลูกอยู่เสมอ เพราะในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช จะต้องการบำรุงธาตุอาหารที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ให้ต้นข้าวแตกกอได้ดี ออกรวงสวย ได้น้ำหนัก และเมล็ดข้าวได้คุณภาพ นอกจากนี้พี่นิรัตน์เลือกใช้โดรนทางการเกษตรในการหว่านปุ๋ย เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานได้อีกด้วย  

 

       ในส่วนของการใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 1 จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นข้าวอายุ 20-25 วัน พี่นิรัตน์จะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-8 ในพื้นที่นาดินทราย และหากพื้นที่เป็นดินเหนียวจะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-20-0 (สัดส่วน 1:1) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อห้ข้าวแตกกอได้ดี ใบเขียวทนนาน  

การผสมปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-8 

 

       การใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 คือช่วงข้าวระยะตั้งท้อง (อายุ 65-70 วัน) จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 (สัดส่วน 2:1) หว่านในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยบำรุงสร้างรวงข้าว ใบเขียวเข้ม ข้าวแทงรวงได้ดี ข้าวออกสุดรวง  

ปุ๋ยที่ผสมแล้ว ที่กำลังจะบรรจุใส่โดรน เพื่อทำการหว่าน 

 

       ทั้งนี้ พี่นิรัตน์ตอกย้ำความมั่นใจให้เราฟังว่า ตั้งแต่ลงมือทำนา ก็เริ่มใช้ปุ๋ยตรากระต่ายมาโดยตลอด ตามคำแนะนำของร้านค้าที่จำหน่ายปุ๋ย โดยจะเน้นปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-20-0 เป็นหลัก เพราะสูตรที่ธาตุอาหารรอง อย่างแคลเซียม  ซึ่งมีส่วนช่วยสำคัญทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย และเมื่อใช้โดรนในการหว่านปุ๋ย เม็ดปุ๋ยตรากระต่ายก็ใช้ได้ดี เพราะไม่ติดตัวเครื่อง หว่านพ่นง่าย พี่นิรัตน์จึงยกให้เป็น ปุ๋ยอันดับ 1 ในใจเสมอมาครับ 

โดรนที่กำลังหว่านปุ๋ยลงแปลง 

 

เคล็ดลับบริหารผืนนา 380 ไร่ ให้ได้ผลผลิต 1 ตันต่อไร่  

ต้องไร้โรค ไร้แมลงรบกวน 

 

       อีกหนึ่งเทคนิคที่สำคัญ พี่นิรัตน์ย้ำว่า การปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตันต่อไร่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องหมั่นสังเกตข้าวที่ปักดำในแปลงนา หากมีต้นข้าวที่งอกนอกเหนือจากแถวที่ปักดำ ให้สันนิษฐานว่าเป็นพันธุ์ข้าวปน ต้องทำการถอนทันที เมื่อข้าวแตกกอ ควรเดินสำรวจเก็บตกอีกครั้ง อย่าชะล่าใจเด็ดขาด เพราะอาจมีข้าวที่เจริญเติบโตนอกแถว และนี่จึงเป็นเทคนิคสำคัญที่สุดของการปลูพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามฉบับพี่นิรัตน์ 

 

       ถัดมาในเรื่องของการรักษาระดับน้ำในแปลงนา ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการหล่อเลี้ยงต้นข้าวให้เจริญเติบโต ระดับน้ำควรมีความสูงอยู่ที่ 10-15 เซนติเมตร และควรควบคุมปริมาณน้ำให้คงที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเหือดแห้งของน้ำและป้องกันไม่ให้เกิดวัชพืชภายในแปลงนา จากนั้นเมื่อต้นกล้าอายุ 5-10 วัน จะนำแรงงานคนลงแปลงนา เพื่อเก็บตกพันธุ์ข้าวปน วัชพืช พร้อมกับการสังเกตต้นข้าวในแปลงนา หากเจอโรคที่เกิดกับต้นข้าว จะทำการฉีดยาเชื้อราควบคุมทันที เพื่อให้แปลงนาไร้โรคและแมลงรบกวน ผลผลิตมีคุณภาพ

ระดับน้ำควรมีความสูงอยู่ที่ 10-15 เซนติเมตร

 

 

ใช้เทคโนโลยีช่วยประหยัดแรงงาน คุ้มต้นทุน 

เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ 

 

       ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรมาปรับใช้ สามารถช่วยทุ่นแรงงานคน ประหยัดรายจ่าย และได้ผลผลิตที่มากขึ้น สามารถตอบโจทย์การใช้งานจริงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ เช่นเดียวกับพี่นิรัตน์ ที่ครั้งอดีตเริ่มทำนา ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทางการเกษตรมาปรับใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง ยังคงใช้วิธีการทำนาแบบเดิมๆ ด้วยการใช้แรงงานคนเป็นหลัก ทั้งเรื่องการดำนา การหว่านปุ๋ย  การเก็บเกี่ยวข้าว หรือการชักร่องน้ำ เป็นต้น 

การหว่านปุ๋ยด้วยโดรนการเกษตร 

 

       พี่นิรัตน์ยังเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ที่เปิดใจเรียนรู้เทคโนโลยี นำเครื่องจักรกลงทางการเกษตรมาปรับใช้ในแปลงนาของตนเอง ตั้งแต่ช่วงเตรียมแปลง จนถึงช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งการใช้โดรนหว่านปุ๋ยและพ่นยา การใช้เครื่องปักดำนาแทนการปักดำโดยใช้แรงงานคน การใช้รถไถในการปรับสภาพพื้นที่ปลูก พร้อมกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวข้าวโดยการใช้รถเกี่ยว และการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยเครื่องแยกเมล็ด ซึ่งเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ล้วนมีความแม่นยำ ลดแรงงานคน ประหยัดเวลาและต้นทุนการผลิต 

พี่นิรัตน์ กับแปลงข้าวเหนียว ที่มีความสมบูรณ์ 

 

       จากเรื่องราวข้างต้น พี่นิรัตน์ สรุปส่งท้ายสั้นๆว่า การลงมือปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิต 1 ตันต่อไร่นั้น จำเป็นต้องใส่ใจในรายละเอียด มีความพิถีพิถันและให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาปรับใช้ รวมถึงต้องมีการสำรวจแปลงเป็นประจำเพื่อกำจัดพันธุ์ข้าวปนและวัชพืช และที่สำคัญที่สุดคือการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นข้าวให้เหมาะสมกับช่วงการเจริญเติบโตในแต่ละระยะ ด้วยปุ๋ยตรากระต่าย ทำให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้ตลอดทั้งปี 

เคล็ดลับการปลูกพันธุ์ข้าวเหนียวให้ได้ผลผลิตมากกว่า 1 ตัน/ไร่! 

 

 

สามารถติดตามสาระเกษตรน่ารู้ ได้ที่   

คลิกปลูกข้าวนาดินทราย ต้นสมบูรณ์ รวงใหญ่ ได้น้ำหนักดี”  

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากปุ๋ยตรากระต่าย เพิ่มเติมได้ที่  

Facebook: www.facebook.com/puitrakratai/  

YouTube: www.youtube.com/c/Puitrakratai  

TikTok: https://www.tiktok.com/@puitrakratai  

ข้อมูลสินค้าปุ๋ยตรากระต่าย : https://www.chiataigroup.com/business/fertilizer/Puitrakratai-Rice-Fields