ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีความเหมาะสมในการปลูกข้าว แต่การจะปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่เพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมทำให้การผลิตข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การบำรุงข้าวในแต่ละระยะ รวมถึงการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการทั้งในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ
ลุงละเอียด แดงแตง แห่ง ต.ศาลาขาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
โดยจะพาไปรู้จักกับ คุณลุงละเอียด แดงแตง แห่ง ต.ศาลาขาว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เกษตรกรวัยเก๋า ผู้ที่ไม่ยอมให้อายุมาเป็นอุปสรรคหรือข้ออ้างในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลผลิตในนาข้าวของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งคุณลุงละเอียดก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่มีใครที่แก่เกินเรียนจริงๆ จากเมื่อก่อนลุงละเอียดเคยผลิตข้าวได้เพียง 80-90 ถัง/ไร่ ปัจจุบันลุงสามารถผลิตข้าวได้มากถึง 130 ถัง/ต่อไร่
เชื่อว่าทุกท่านคงอยากทราบกันแล้วใช่ไหมว่าคุณลุงละเอียดมีเคล็ดลับการปลูกข้าวยังไงให้ได้ผลผลิตมากถึง130 ถัง/ไร่ ถ้าอยากรู้ก็ตามมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย
เรียนรู้ ปรับตัว ปรับใช้ ให้ทันยุคสมัย
สูตรสำเร็จการทำนาของ “ลุงละเอียด”
ลุงละเอียด เผยว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ทำนาอยู่ 60 ไร่ มีประสบการณ์ทำนากว่า 60 ปี แต่ก่อนหน้านี้ทำนาได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ประสบปัญหาข้าวไม่ออกรวง เนื่องจากสภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับขาดองค์ความรู้ในการดูแลข้าวอย่างถูกวิธี ทำให้ได้ผลผลิตข้าวต่อไร่น้อยเพียง 80-90 ถัง/ไร่ แต่พอได้เปิดใจเรียนรู้เรื่องของการใช้ปุ๋ย ใช้ยา อย่างถูกวิธี แนวโน้มของผลผลิตเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยได้ 80-90 ถัง/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 130- ถัง/ไร่ มีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิมเกือบเท่าตัว และนอกจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ในส่วนของคุณภาพของข้าวก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คือ ข้าวเมล็ดเต่ง เต็มรวง สีสวย เมื่อนำไปไปขายที่โรงสี ก็จะขายได้ราคาดีกว่าของคนอื่นๆ
“ลุงเป็นคนที่ชอบเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง เพราะลุงคิดอยู่เสมอว่าถ้าลุงหยุดนิ่งก็เท่ากับว่าเราย่ำเท้าอยู่กับที่ แทนที่เราจะได้ผลผลิตมากกว่าที่เคยได้ ก็กลับว่าได้เท่าเดิมหรือแย่ไปกว่าเดิมซะอีก เพราะฉะนั้นลุงต้องหมั่นขยันศึกษาหาความรู้และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนไป มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการในไร่นามากขึ้น รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ เรื่องปุ๋ย ยา ที่มีมาให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอด และการพาตัวเองออกไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนที่ประสบความสำเร็จ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในไร่นาของตนเอง จนทุกวันนี้ลุงกล้าพูดได้เลยว่าลุงก็เป็นชาวนาอีกคนที่ประสบความสำเร็จในการทำนา เพราะการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และหมั่นพัฒนานำเอาองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ และพัฒนาผลผลิตอยู่ตลอดเวลา” ลุงละเอียด เล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้ฟัง
ข้าวรวงใหญ่ เมล็ดเต่ง ผลผลิต 130 ถัง/ไร่
“เมล็ดพันธุ์ดี ปุ๋ยดี”
เลือกให้เหมาะกับต้นข้าว
เอาอยู่ทุกสถานการณ์
คุณลุงละเอียด บอกว่า แน่นอนว่าถ้าอยากปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่ดีต้องเริ่มต้นจากการเลือกปลูกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ และช่วงฤดูกาล เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโดยตรง ซึ่งการปลูกข้าวของคุณลุงละเอียดนั้น จะเลือกปลูกทั้ง “ข้าวพันธุ์เบา” คือข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 90-100 วัน และ “พันธุ์หนัก” มีอายุเก็บเกี่ยวมากกว่า 120 วัน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของดินในพื้นที่ที่มีทั้งดินเหนียว และดินทราย เพราะลุงมีพื้นที่ปลูกข้าวหลายแปลง
ดังนั้นด้วยข้อจำกัดของสภาพพื้นดินที่ไม่เหมือนกัน การปลูกข้าวจึงจำเป็นต้องมีความพิถันใส่ใจรายละเอียด การเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวมาปลูกต้องศึกษาให้ดีว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวแต่ละสายพันธุ์เหมาะปลูกในสภาพพื้นดินแบบไหน และที่สำคัญต้องมาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีเชื้อราติด และได้ผลผลิตดี
เมล็ดพันธุ์ข้าวดี ช่วยให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น
จากนั้นเมื่อได้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมจากแหล่งผลิตที่เชื่อได้แล้ว ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือการต้องเลือกใช้สูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับที่ต้นข้าวต้องการในแต่ระยะ และเหมาะสมกับสภาพพื้นดินนั้นๆ เพราะฉะนั้นการบำรุงธาตุอาหารก็แตกต่างกัน ตรงนี้ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรหลายคนมองข้าม
โดยการเตรียมแปลงเพื่อทำนา ของคุณลุงละเอียดจะเริ่มตั้งกระบวนการเก็บวัชพืชที่หัวคันนาให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบซ่อนตัวของศัตรูพืชในนาข้าว จากนั้นทำการวิดน้ำเข้าแปลงไว้ประมาณ 1-2 คืน เพื่อให้ง่ายต่อการเตรียมดิน ปั่นดิน พร้อมที่จะทำการปั่นดิน และเมื่อปั่นดินเสร็จแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการขลุบย่ำนาให้ตอข้าวราบลง แล้วชักร่อง เพื่อเตรียมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
ใส่ใจทุกช่วงการเจริญเติบโต
ไม่พลาดการบำรุงทุกช่วงสำคัญ
ผลผลิตต่อไร่สูง ได้กำไรหายเหนื่อย
มาถึงช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือช่วงของการบำรุงธาตุอาหารให้ถูกช่วง ถูกจังหวะกับที่ข้าวต้องการ ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นลุงละเอียดจึงไม่ขอพลาดการบำรุงดูแลทุกช่วงสำคัญ
โดยคุณลุงละเอียด เผยว่า ที่แปลงนาจะใส่ใจทุกขั้นตอนตั้งแต่ระยะข้าว 0-4 วัน คือหลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเสร็จแล้ว จะทำการปล่อยน้ำออกจากนา แล้วฉีดยาคุมเลน โดยใช้ ซีเฮอร์ (เพรทิลาคอร์) อัตรา 200 ซีซี ผสม อโทนิค (ฮอร์โมนกลุ่มไนโตรฟีโนเลต) อัตรา 20 ซีซี และอีก่าร์ (ไทอะมีทอกแซม) 200 กรัม ต่อไร่ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ช่วยในการคุมกำจัดวัชพืชในนาข้าว เพราะหากปล่อยให้วัชพืชขึ้นเยอะเมื่อข้าวเริ่มโตจะส่งผลทำให้ผลิตที่ได้ลดลง
ตัวช่วยสำคัญในการคุมกำจัดวัชพืชในนาข้าว
ซึ่งเทคนิคการฉีดพ่นยาคุมในช่วงนี้คือหลังจากปล่อยน้ำออกจากนาเสร็จ ให้รีบฉีด อย่ารอให้หน้าดินแห้ง เพราะจะทำให้ยาประสิทธิภาพของยาลดน้อยลง พร้อมกับการใช้อโทนิคผสมลงไปกับยาคุมเลน เพราะจากที่ลุงได้ไปอ่านข้อมูลมาก็ทำให้รู้ว่า อโทนิคมีคุณสมบัติช่วยให้ข้าวหน่ออวบ โตไว เขียวไว จึงได้ทดลองใช้แล้วได้ผลดี เพราะก่อนหน้านี้เคยประสบปัญหาปลูกข้าวช่วงหน้าหนาวแล้วข้าวงอกไม่ดี ร้านค้าก็แนะนำให้ใช้อโทนิคหลังจากได้ทดลองใช้อโทนิคฉีดแล้วปรากฏว่าข้าวงอกดี ไม่ชะงัก แถมยังหน่ออวบ โตไว อีกด้วย
จากนั้นเมื่อ ข้าวอายุ 8-10 วัน ทำการฉีดยาคุม-ฆ่าอีกครั้ง เพราะถ้าไม่ฉีดยาคุม-ฆ่าในช่วงนี้ หญ้าจะหลุดเยอะ หากปล่อยไว้หญ้าที่โตไวกว่าต้นข้าวจะมาแย่งปุ๋ยและธาตุอาหารไปนั่นเอง โดยการฉีดช่วงนี้คุณลุงละเอียดจะใช้กรุมก้า (โคลมาโซน + โปรพานิล) อัตรา 200 ซีซี ผสมกับอโทนิค ในอัตรา 20 - 25 ซีซี และอีก่าร์ (ไทอะมีทอกแซม) 200 กรัม ต่อไร่ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้ข้าวฟื้นตัวไว ต้นข้าวโตดี เขียวดี
เคล็ดไม่ลับช่วยข้าวฟื้นตัวไว ต้นข้าวโตดี เขียวดี
“ถ้าเราใช้อโทนิคผสมฉีดพ่นตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงข้าวโต ข้าวมันจะโตเร็ว เก็บเกี่ยวได้ก่อนกำหนด แต่ถ้าไม่ผสมอโทนิค หน่อข้าวจะสั้น ทำให้เราคุมน้ำเข้านาไม่ได้ ต้องรอไปอีก 10 กว่าวัน พอทิ้งระยะเวลารอไปอีก 10 กว่าวัน ก็ทำให้หญ้ายิ่งโตสุดท้ายก็คุมและกำจัดหญ้าไม่ทัน ยิ่งถ้าเป็นหน้าหนาวหญ้าจะโตเร็ว แต่ข้าวเวลาเจออากาศหนาว เย็นจะโตช้า เราเลยต้องใช้อโทนิคช่วยเร่งให้ข้าวโตตามปกติ เราจะได้ไขน้ำเข้านาได้เร็ว หญ้าจะได้ไม่ขึ้น” ลุงละเอียดเผยสาเหตุของการใช้อโทนิคในช่วงระยะข้าว 8-10 วัน
มาถึงช่วงการบำรุงข้าว อายุ 25-30 วัน (ระยะแตกกอ) เริ่มบำรุงปุ๋ยทางดินครั้งที่1 ควบคู่กับการใช้ฮอร์โมนฉีดพ่นทางใบ เพราะเป็นช่วงสำคัญที่สุดสำหรับการบำรุง ดูแลป้องกันไม่ให้เกิดโรคข้าว และปลอดภัยจากการรบกวนของแมลงศัตรูพืช
โดยการเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละสูตรในการบำรุง คุณลุงละเอียดบอกว่า ขึ้นอยู่กับต้นข้าว และสภาพของดิน เนื่องจากปัจจัยของสภาพดินปลูกที่มีทั้งแปลงที่เป็นดินเหนียว และแปลงที่เป็นดินทราย ดังนั้นความต้องการธาตุอาหารของพืชก็แตกต่างกัน จึงต้องเลือกใช้สูตรปุ๋ยให้เหมาะกับต้นข้าว โดยอาศัยการสังเกตุต้นข้าว ควบคู่ไปกับการบำรุง
สำหรับปุ๋ยที่เลือกใช้ในการบำรุงข้าวในระยะแตกกอ หากเป็นพื้นที่ดินทราย จะเลือกใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) ตรากระต่าย อัตรา 20 กก./ไร่ ส่วนถ้าปลูกในพื้นที่ดินเหนียว จะเลือกใช้ปุ๋ย สูตร 16-16-8 ตรากระต่าย อัตรา 25 กก./ไร่ แต่ถ้าในกรณีที่การเจริญเติบโตของข้าวยังไม่เป็นที่น่าพอใจ จะเสริมด้วยการใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 ตรากระต่าย อัตรา 25 กก./ไร่
หลังจากหว่านปุ๋ยได้ประมาณ 5-7 วัน ข้าวจะเริ่มเขียว ก็จะเริ่มมีหนอน มีแมลงมารบกวน ต้องฉีดพ่นสารเพื่อป้องกันตามศัตรูพืชที่ระบาด โดยใช้อัลทาคอร์ (คลอแลนทรานิลิโพล) ผสมกับอโทนิค 20-25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
เมื่อเข้าถึงระยะข้าวอายุ 45 วัน (ช่วงรับท้อง) เป็นช่วงระยะที่ต้องเร่งใส่ปุ๋ยบำรุง สูตรปุ๋ยที่ใช้จะขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวที่ปลูกด้วย หากเป็นพันธุ์ข้าวเบา จะเลือกใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21 ตรากระต่าย ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง อัตราครั้งละ 25 กก./ไร่ และในส่วนของข้าวพันธุ์หนัก จะใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยในอัตรา 25 กก./ไร่ ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 จะใส่ปุ๋ยในอัตรา 20 กก./ไร่ พร้อมกับการฉีดพ่นฮอร์โมน (ชุดบำรุงรวงอ่อน) บำรุงต้นข้าวระยะข้าวตั้งท้องด้วย เพื่อให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ ดังนี้
สำหรับข้าวพันธุ์เบา ในระยะข้าวอายุ 45-50 วัน จะใช้ นิวฟอส (กรดฟอสโฟนิก) 1 ลิตร อโทนิค 200 - 250 ซีซี พาบินส์ (ไพราโคลสโตรบิน) 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 5-10 ไร่
ฉีดพ่นให้ตรงระยะ ผลผลิตดีแน่นอน
โดยเทคนิคสำคัญอยู่ที่การฉีดพ่นให้ตรงระยะ เพราะจะได้เมล็ดข้าวมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของข้าวระยะนี้ ซึ่งสารบำรุงแต่ละตัวก็จะช่วยในเรื่องที่แตกต่างกันคือ
เพราะช่วงข้าวอายุ 45 วัน จะตรงกับ ระยะ 4.1 ซึ่งเป็นนะระยะสำคัญที่สุดที่ต้องฉีดพ่นให้ตรง โดยปกติจะมีแนะนำให้เกษตรกรนับอายุด้วย โดยระยะ 4.1 จะเท่ากับอายุเก็บเกี่ยวของข้าวพันธุ์ที่ปลูก ลบด้วย 60 จะเท่ากับข้าวระยะ 4.1 พอดี เช่น ข้าวพันธุ์ที่ปลูกมีอายุเก็บเกี่ยว 100 วัน การหาระยะ 4.1 คือ เอา 100 ลบ 60 = 40 ระยะ 4.1 ที่จะต้องพ่นคือ ช่วงข้าวอายุ 40 วัน เป็นต้น
และในส่วนของข้าวพันธุ์หนัก ในระยะข้าวอายุ 60 วัน จะบำรุงโดยใช้สูตรเดียวกันก็คือ นิวฟอส (กรดฟอสโฟนิก) 1 ลิตร อโทนิค 200 - 250 ซีซี พาบินส์ (ไพราโคลสโตรบิน) 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ ต่อพื้นที่ 5-10 ไร่ แล้วผสมด้วยปุ๋ยเกล็ด 6-32-32 อัตรา 1 กก./10 ไร่ เพื่อเร่งแป้ง เร่งน้ำหนัก
ระยะโน้มรวง(ข้าวก้ม)
จนมาถึงการบำรุงในช่วงสุดท้าย ระยะโน้มรวง(ข้าวก้ม) ข้าวพันธุ์เบาอายุประมาณ 60-70 วัน และข้าวพันธุ์หนักอายุประมาณ 70-80 วันขึ้นไป จะทำการฉีดพ่นอีกอีกครั้งโดยใช้ผลิตภัณฑ์ดังนี้ นิวฟอส 200 ซีซี อโทนิค 20-25 ซีซี พาบินส์ (ไพราโคลสโตรบิน) 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 5-10 ไร่ และผสมปุ๋ยเกล็ด สูตรตัวท้ายสูง เช่น 13-0-46 เร่งน้ำหนัก เร่งแป้ง ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งการใช้พาบินส์พ่นในระยะนี้เพื่อช่วยขัดผิวเมล็ดข้าว ทำให้ข้าวสีสวย เมล็ดใส ส่วนตัวอโทนิคจะช่วยให้ข้าวสุกเสมอกันเวลาเก็บเกี่ยวได้น้ำหนักดี
การพัฒนาเกิดจากการเรียนรู้
ปล่อยให้อายุเป็นเพียงตัวเลข
ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
สุดท้ายนี้คุณลุงละเอียดฝากไว้ว่า “การพัฒนาเกิดจากการเรียนรู้ ใครอายุมากก็ขอให้แก่แค่อายุ แต่ความรู้ต้องพัฒนาอยู่ตลอดดูอย่างลุงจากเมื่อก่อนปลูกข้าวได้ไม่ถึงตัน แต่พอได้ลองเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หมั่นเรียนรู้ศึกษาในสิ่งที่ไม่ถนัดจนเกิดความชำนาญ ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นจนเห็นได้ชัด อย่างการใช้ยา การใช้ฮอร์โมนบำรุง รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง เมื่อก่อนตอนที่ยังไม่ได้ศึกษาลุงไม่รู้ใครแนะนำอะไรก็ใช้ผลสุดท้ายก็ล้มเหลว จึงได้เปลี่ยนตัวเองใหม่ พยายามทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้วอยู่เสมอ โดยเรียนรู้จากพนักงาน หรือเซลล์บริษัทฯ ที่มาแนะนำ ตรงนี้จะช่วยได้มาก เพราะถ้าเรามีความรู้เรื่องยา เราก็จะใช้ยาได้ตรงโรค รักษาได้ตรงจุด ทำให้ไม่ใช้ยาซ้ำซ้อนจนเกิดความสิ้นเปลือง บางคนไม่ศึกษาเวลาข้าวเป็นโรคก็เอายามาฉีดผิดๆ ก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และนอกจากมีความรู้แล้วต้องมาควบคู่กับความมีระเบียบ วินัย อย่าผัดวันประกันพรุ่ง ถึงเวลาพ่นยาเราต้องพ่น ถึงเวลาคุมหญ้าเราต้องคุม ถึงเวลาเอาน้ำเข้านาก็ต้องตรงกำหนด แล้วจะได้ผลผลิตตรงตามที่วางแผนไว้” คุณลุงละเอียด กล่าวทิ้งท้าย
เพื่อนคู่คิด อยู่เคียงข้างลุงละเอียดเสมอมา
จากเรื่องราวของคุณลุงละเอียด “เกษตรกรวัยเก๋า” ที่นอกจากการถ่ายทอดเคล็ดลับการปลูกข้าวแล้ว ประสบการณ์ และความตั้งใจที่จะเรียนรู้ของลุง ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรอีกหลายคนที่กำลังท้อแท้กับการทำนา ให้ลุกขึ้นสู้อีกครั้ง ซึ่งนอกจากการเรียนรู้ ขยันทดลองค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ แล้ว คุณลุงละเอียดยังเปิดใจเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการการผลิตอีกด้วย โดยปัจจุบันที่แปลงของคุณลุงละเอียดมีการใช้โดรนเข้ามาช่วย ทำให้การฉีดพ่นยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการพ่นสารต่างๆ มีความสม่ำเสมอ ข้าวไม่เสียหายจากการโดนเหยียบย่ำ และช่วยให้การทำงานมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการการผลิต
ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากอารักขาพืชเจียไต๋ เพิ่มเติมได้ที่
Facebook : www.facebook.com/ChiataiPlantprotection
YouTube : www.youtube.com/@Chiataiplantprotection
ข้อมูลสินค้าอารักขาพืช : www.chiataigroup.com/business/plant-protection/FoliarFertilizerAndHormone