เทคนิคทำสวนทุเรียนแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ ฟื้นต้นไว ได้ผลผลิตเพิ่ม คุณภาพเกรดส่งออกกว่า 70%

       “ทุเรียน” เป็นผลไม้ที่มีความต้องการของตลาดต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งยังมีราคาสูง ทำให้มีเกษตรกรสนใจอยากปลูกกันเป็นจำนวนมาก แต่ทุเรียนได้ชื่อว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างดูแลยาก และกว่าจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
 
       โดยเฉพาะกับทุเรียนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งแม้จะให้จำนวนผลต่อต้นมาก แต่ก็แลกมากับความโทรมของต้นที่มากขึ้น ทำให้ฟื้นต้นยากและเสี่ยงเป็นโรค เรียกได้ว่าการทำให้ทุเรียนติดผลว่ายากแล้ว การรักษาต้นให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกผลผลิตในรุ่นถัดไปนั้น ก็มีความท้าทายไม่แพ้กัน
 
       แต่สำหรับ คุณสมปราชญ์ บ้านไร่ หรือ คุณเนม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 29 ปี ที่มารับช่วงต่อดูแลสวนทุเรียนครอบครัว สามารถพลิกโฉมให้ต้นทุเรียนเดิมที่ให้ผลผลิตเพียงปีละ 3-5 ตัน เพิ่มขึ้นเป็น 30-40 ตัน ได้สำเร็จ
คุณสมปราชญ์ บ้านไร่ หรือ คุณเนม
 
       คุณเนม เผยว่า ตอนมาดูแลสวนทุเรียนช่วงแรกๆ นั้นถือว่าต้นโทรมมาก แทบไม่มีใบเลย ทำให้ได้ผลผลิตต่ำมาก ซึ่งความยากของการดูแลทุเรียนคือ ต้องมีความใส่ใจในทุกขั้นตอน ไม่ใช่มุ่งไปที่ช่วงติดดอกทำผลอย่างเดียว แต่ช่วงที่ทำการฟื้นต้นนั้นก็เป็นหนึ่งช่วงสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดว่าทุเรียนนั้นจะให้ผลผลิตได้มาก-น้อยแค่ไหน
 
       ปัจจุบันผลผลิตทุเรียนที่สวนของคุณเนมที่มีคุณภาพเกรดส่งออกในปริมาณสูงกว่า 70% สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ตามไปดูกันว่า คุณเนมมีวิธีการจัดการอย่างไร?
ทุเรียนคุณภาพเกรดส่งออกในปริมาณสูงกว่า 70%
 
จัดระบบแปลง-วางระบบน้ำดี
ปรับปริมาณน้ำอย่างเหมาะสม
 
       สวนทุเรียนของคุณเนม อยู่ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ส่วนใหญ่ประมาณ 80% เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ส่วนที่เหลืออีก 20% จะเป็นทุเรียนพันธุ์ชะนี มีอายุต้นเริ่มตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึงอายุ 50 ปี
 
       โดยในการบริหารจัดการแปลงนั้น คุณเนม เผยว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกทุเรียนประมาณ 20 ต้น ในระยะห่าง 8x8 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต ไม่แน่นจนทรงพุ่มชนกัน และยังสามารถนำรถหรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาใช้ได้สะดวก
ปลูกทุเรียนในระยะที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต สามารถนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรมาใช้ได้สะดวก
 
 
       ทั้งนี้ เรื่องสำคัญที่ต้องเน้นเลยคือ การวางแผนแหล่งน้ำและระบบน้ำ เนื่องจากทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมาก หากขาดน้ำในช่วงติดผล อาจทำให้ทุเรียนมีอาการ “เนื้อแกน” คือ เนื้อแข็ง สีซีด และมีรสขมได้
 
       คุณเนมจึงมีการขุดสระน้ำไว้รองรับ พร้อมทั้งให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตแต่ละช่วงอายุ
 
       สำหรับต้นทุเรียนอายุ 30-50 ปี ติดตั้งหัวสปริงเกลอร์ประมาณ 3-5 หัว เปิดให้น้ำวันเว้นวัน ประมาณ 30 นาที ช่วงดอกทุเรียนบานลดปริมาณการให้น้ำลง เหลือแค่ 15 นาที ช่วงหางแย้ไหม้ เปิดให้น้ำ 2 วัน ครั้งละ 30 นาที เพื่อลดการหลุดร่วงของดอกทุเรียน
 
       ส่วนทุเรียน ระยะผลเล็ก (ระยะไข่ไก่) เพิ่มปริมาณการให้น้ำนาน 1 ชั่วโมง เมื่อทุเรียนมีน้ำหนักผล 1 กิโลกรัม (ระยะกระป๋องนม) จะให้น้ำวันเว้นวัน ประมาณ 1 ชั่วโมง
ทุเรียน ระยะผลเล็ก (ระยะไข่ไก่) ให้น้ำ 1 ชั่วโมง
 
 
“ฟื้นต้น-ทำใบ” พื้นฐานสำคัญ
เพิ่มผลผลิตเกรดส่งออก
 
       โจทย์แรกของคุณเนม หลังรับช่วงทำสวนทุเรียนเก่ามาจากคุณพ่อคุณแม่คือ การหาคำตอบว่า “ทำไมสวนของตนเองนั้นได้ผลผลิตต่ำเพียง 3-5 ตัน” จึงมีการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จนทราบว่าช่วงคาบเกี่ยวระหว่างการฟื้นต้นและทำใบนั้นเป็นช่วงสำคัญของการสะสมอาหารเพราะทุกครั้งที่ทุเรียนให้ผลผลิต ต้นจะถูกดึงธาตุอาหารต่างๆ ไปใช้ในการเลี้ยงผล
 
       ดังนั้น หากการฟื้นต้นและทำใบไม่สมบูรณ์ก็เหมือนร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบไปตั้งแต่การติดดอก ติดผลและคุณภาพของผลผลิตในที่สุด และยิ่งเป็นกรณีในสวนของตนเองที่ต้นทุเรียนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี หากขาดการบำรุงที่เพียงพอ จะยิ่งทำให้ผลผลิตลดลงในทุกๆ ปี

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องตัดแต่งกิ่งก่อน

ปรับปรุงดินด้วยการใช้ยิปซัมโรยทางดิน
 
 
       คุณเนม กล่าวว่า ขั้นแรกของการฟื้นต้นคือ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องตัดแต่งกิ่งก่อนพร้อมปรับปรุงดินด้วยการใช้ยิปซัมโรยทางดิน พร้อมทั้งพ่นล้างต้นด้วยผลิตภัณฑ์กำจัดโรคเชื้อรา
 
       จากนั้นจะเริ่มการบำรุงและฟื้นต้นโดยใช้ ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และแคลเซียมไนเตรต 15-0-0 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น
บำรุงต้นก่อนทำใบด้วยปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู และแคลเซียมไนเตรต 15-0-0
 
       จนเมื่อผ่านไปประมาณ 7-10 วัน ต้นทุเรียนจะเริ่มผลิใบออกมา ก็จะเสริมด้วยสาหร่าย มาโมมิกส์กรีน อัตรา 200 ซีซี, มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 200 ซีซี, เนเทอไรฟ์ อัตรา 200 ซีซี ร่วมกับ อโทนิค 50 ซีซี และปุ๋ยยูเรียแบบพ่น สูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม

เคล็ดลับการดึงใบชุดที่ 

 
       หลังจากการฟื้นต้นสมบูรณ์แล้ว จะเริ่มเข้าสู่ช่วง การทำใบซึ่งการเจริญเติบโตของใบจะมี 3 ระยะ คือ 1.ใบอ่อน 2.ใบเพสลาด และ 3.ใบแก่ โดยคุณเนมเน้นว่า จะต้องทำใบทั้งหมด 3 ชุด แต่ละชุดจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพื่อให้ต้นทุเรียนสะสมอาหารได้สมบูรณ์ที่สุด  

หลังใบชุดที่ 1 กาง ต้องบำรุงตามสูตรนี้ เพื่อให้ต้นทุเรียนแตกใบดีและใบใหญ่ 

         

       สำหรับการทำใบชุดที่ 1 เมื่อใบทุเรียนเริ่มแตกผลิออกมา จะใส่ ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น พร้อมด้วย อโทนิค อัตรา 50 ซีซี ฟอลครอปคอมบี อัตรา 200 ซีซี และ มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 200 ซีซี พร้อมใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-20 แบบพ่น อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ช่วยให้ต้นทุเรียนแตกใบดีและใบใหญ่  

การบำรุงช่วงใบเพสลาด 

 

       พอเข้าสู่ ระยะใบเพสลาด จะใช้ ฟอลครอป คอมบี อัตรา 200 ซีซี มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 200 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร และ มาโมมิกซ์ โกลด์ อัตรา 200 ซีซี ใส่ปุ๋ยเกล็ดพ่นทางใบ สูตร 20-20-20 อัตรา 300 กรัม และ อโทนิค อัตรา 100 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ใบแก่สมบูรณ์  หนา เป็นสีเขียวเข้ม สามารถสะสมอาหารได้ดี  

 

       หลังจากทำใบชุดที่ 1 เสร็จเรียบร้อย จะเริ่มทำใบชุดที่ 2 และชุดที่ 3 ต่อเนื่องกัน โดยใช้ขั้นตอนการบำรุงเหมือนใบชุดที่ 1 ซึ่งหากทำใบครบทั้งหมด 3 ชุด จะสิ้นสุดที่ช่วงประมาณเดือนกันยายน  

หลังจากทำใบชุดที่ 1 เสร็จเรียบร้อย ต้องทำใบชุดที่ 2 และชุดที่ 3 ต่อเนื่องกัน 

 

วิธีบำรุงช่วงติดดอก 
ให้ขั้วเหนียว ติดผลดี 

 

       พอถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน เริ่มมีสภาวะอากาศเย็นลง ต้นทุเรียนจะเริ่มเกิดตาดอก คุณเนมจะเริ่มบำรุงด้วยสาหร่าย มาโมมิกซ์ กรีน  อัตรา 300 ซีซี โบรอน อัตรา 100 ซีซี และ มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 300 ซีซี ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ สูตร 5-25-30 อัตรา 300 กรัม และ อโทนิค อัตรา 100 ซีซี เพื่อช่วยให้ตาดอกมีปริมาณมาก ตาดอกไม่ฝ่อ สามารถติดดอกได้สมบูรณ์ 

สูตรการบำรุงช่วงเปิดตาดอก

บำรุงตามสูตรนี้ ช่วยให้ตาดอกไม่ฝ่อ สามารถติดดอกได้สมบูรณ์   

 

       ทั้งนี้ คุณเนมเน้นว่า หลังจากทุเรียนติดดอกแล้วต้องระวังปัญหาดอกร่วงเป็นพิเศษ โดยมีเทคนิคการบำรุงเพื่อช่วยให้ดอกทุเรียนขั้วเหนียว ดังนี้  

 

       ช่วงดอกทุเรียน ระยะมะเขือพวง ใส่ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยบำรุงดอกเพื่อไม่ให้ดอกร่วง โดยใช้ อโทนิค 100 ซีซี ร่วมกับ มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 200 ซีซี 

สูตรการบำรุงดอกทุเรียน ช่วงระยะมะเขือพวง 

 

       เมื่อเข้าสู่ช่วงระยะหางแย้ไหม้เป็นช่วงสำคัญของทุเรียน ต้องทำให้ขั้วทุเรียนเหนียว โดยใช้ อโทนิค อัตรา 100 ซีซี มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 200 ซีซี และ มาโมมิกซ์ โกลด์ อัตรา 200 ซีซี จะช่วยลดการหลุดร่วง ติดผลได้ดีขึ้น  

สูตรการบำรุงดอกทุเรียน ช่วงระยะหางแย้ไหม้ สามารถลดการหลุดร่วง ติดผลได้ดีขึ้น 

 

เทคนิคบำรุงช่วงติดผล 

ให้ทุเรียนผลใหญ่ พูเต็ม  

 

       หลังทุเรียนระยะติดผลแล้ว จะเป็นระยะของการสร้างเนื้อ สิ่งสำคัญคือการบำรุงธาตุอาหารให้ครบถ้วน เพื่อให้ทุเรียนมีคุณภาพ พูเต็ม ทรงสวย เป็นทุเรียนเกรด 

 

       คุณเนม เผยว่า พอเข้าสู่ช่วงเดือนมกราคม ต้นทุเรียนเข้าสู่ ระยะติดผลอ่อน จะบำรุงด้วย อโทนิค อัตรา 100 ซีซี ผสมกับ มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 300 ซีซี และ มาโมมิกซ์ โกลด์ อัตรา 200 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร ป้องกันการหลุดร่วงของผล และเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ช่วง ระยะไข่ไก่ (ติดผลอ่อนอายุ 30 วัน) 

เทคนิคบำรุงช่วงติดผล ทำให้ขั้วทุเรียนเหนียว 

 

       ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยของการปลุกทุเรียนคือ การแตกใบอ่อนในระยะติดผล ทำให้เกิดการแย่งอาหารระหว่างใบอ่อนกับผลอ่อน จนเป็นเหตุให้ต้นสลัดผลอ่อนร่วงในที่สุด  

การบำรุงช่วงติดผล เร่งใบอ่อนให้แก่ในระยะไข่ไก่

 

       ในช่วงนี้ หากทุเรียนเริ่มแตกใบอ่อน คุณเนมจะเร่งการบำรุงเพื่อให้ใบแก่เร็วขึ้นโดยใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 6-32-35 ในอัตรา 500 กรัม ร่วมกับ มาโมมิกซ์ เรด อัตรา 300 ซีซี, มาโมมิกซ์ บลู อัตรา 300 ซีซี, อโทนิค 100 ซีซี และ มาโมมิกซ์ โกลด์ อัตรา 200 ซีซี  

 

       จากนั้นพอเข้าสู่ช่วง ระยะกระป๋องนม(ติดผลอายุ 45-90 วัน) จะใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-9-20 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเน้นการขยายผล สร้างเนื้อ เบ่งพู ให้ทุเรียนทรงสวย จนเมื่อทุเรียนเข้าสู่ระยะสุกแก่ คุณเนมจะไม่มีการบำรุงอะไรเพิ่มเติม รอเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างเดียว   

การบำรุงช่วงติดผล ระยะกระป๋องนม ช่วยให้ทุเรียนเบ่งพูได้ดี

 

       คุณเนมเล่าถึงความประทับใจใน อโทนิค ให้ฟังว่าครอบครัวผมใช้อโทนิคมาตั้งแต่รุ่นแม่ อโทนิคช่วยฟื้นฟูสภาพต้น หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ลดการหลุดร่วงของดอกและผลทุเรียน เพิ่มโอกาสการติดผล ช่วยให้ขั้วเหนียว บำรุงต้นให้ดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ทำให้ผลทุเรียนมีรูปทรงสวย พูเต็ม สามารถพัฒนาทุเรียนสำหรับส่งออกได้มากขึ้น”   

อโทนิคช่วยฟื้นฟูต้น บำรุงทุเรียนให้ขั้วเหนียว ออกดอกดี ทรงผลสวย ตรงตามสเปกทุเรียนส่งออก 

  

ผลผลิตได้คุณภาพ 

มั่นใจ ขายได้ราคาชัวร์! 

 

       ในแง่ของปริมาณ นอกจากคุณเนมจะสามารถเพิ่มผลผลิตทุเรียนจาก 3-5 ตัน จนกลายเป็น 30-40 ตันแล้ว ในแง่ของคุณภาพก็ถือว่าประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน เพราะสามารถพัฒนาผลทุเรียนให้เกรดส่งออกมากกว่า 70%  

 

       สำหรับทุเรียนหมอนทองเกรดส่งออก หรือที่เรียกว่าเบอร์ AB จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 2-5 กิโลกรัม ขายได้ในราคาสูงถึง 250 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่างจากสินค้าตกเกรดถึง 40-50%   

ดูแลทุเรียนแบบฉบับคุณเนม สามารถพัฒนาผลทุเรียนหมอนทองเกรดส่งออก เบอร์ AB ได้มากกว่า 70% 

 

       ประสบการณ์ของคุณเนม ถือเป็นแง่คิดสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทั้งมือเก่าและมือใหม่ว่า การจะดูแลทุเรียนให้ได้ผลผลิตนั้น นอกจากจะต้องเตรียมความพร้อมในบำรุงต้น ใบ และดอกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการติดผลแล้ว การเลือกปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ อย่างเช่น อโทนิค เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของทุเรียน กินปุ๋ยได้ดี ใบสะสมอาหารได้ดีขึ้น บำรุงทุเรียนให้ขั้วเหนียว ลดการหลุดร่วง และทุเรียนรูปทรงสวย พูเต็ม ตรงตามสเปกทุเรียนส่งออก ได้มากกว่า 70%    

คุณเนมพลิกโฉมต้นทุเรียน จากเดิมที่ให้ผลผลิตปีละ 3-5 ตัน เพิ่มขึ้นเป็น 30-40 ตัน ได้สำเร็จ

 

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากอารักขาพืชเจียไต๋ เพิ่มเติมได้ที่ 

Facebook: www.facebook.com/ChiataiPlantprotection  

YouTube: https://www.youtube.com/@Chiataiplantprotection  

ข้อมูลสินค้าอารักขาพืช : https://www.chiataigroup.com/business/plantprotection/FoliarFertilizerAndHormone