เคล็ดลับปลูก “กะหล่ำดอก” ให้หน้าดอกแน่น กลมนูน น้ำหนักดี 4 ตัน/ไร่ สร้างรายได้ตลอดปี

       “กะหล่ำดอก” เป็นผักที่นิยมบริโภคกันทั่วโลก เดิมทีปลูกได้ดีในพื้นที่อากาศหนาว แต่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้หลาหลายมากขึ้น จนสามารถปลูกได้ในเขตร้อนชื้น สำหรับในไทย จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ แลราชบุรี (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร)  

 

       จุดเด่นของกะหล่ำดอกคือ เป็นพืชที่ไม่ชอบความชื้นจึงต้องการน้ำไม่มากนัก โดยในหนึ่งรอบการผลิตนั้นจะใช้น้ำแค่ประมาณ 450 ลบ.ม./ไร่ เท่านั้น (ข้อมูล : กรมทรัพยากรน้ำ) นอกจากนี้ ผลผลิตยังทนทานและเก็บได้นานกว่าพืชผักอีกหลายชนิด เพราะลำต้นแข็งแรง ไม่อวบน้ำ ทำให้การขนส่งไม่ค่อยเสียหาย ซึ่งหากผลผลิตได้คุณภาพ ก็สามารถมีตลาดรองรับได้ตลอดทั้งปี

   

       ทั้งนี้ หลายคนคิดว่า “กะหล่ำดอก” เป็นพืชที่ปลูกยาก อ่อนแอ ทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่น้อย แต่ความจริงแล้วหากมีความเข้าใจในธรรมชาติของพืช ก็สามารถปลูกให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก อย่างเช่น คุณอิ๋ว-นภาภรณ์ จันลิด ต.ท่าอิบุญ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ที่สามารถปลูกกะหล่ำดอกได้มีคุณภาพ ดอกแน่น กลมนูน จนผู้รับซื้อติดใจเพราะนำไปขายต่อง่ายได้ราคา 

 

       คุณอิ๋ว เล่าว่า ตนเองปลูกกะหล่ำดอกบนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ มานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยจุดเริ่มต้นนั้นเพราะอยากหารายได้เสริมระหว่างการทำนา แต่หลังจากปลูกได้สักระยะพบว่าสามารถทำเงินเพิ่มขึ้นมาก ทั้งยังใช้ระยะเวลาปลูกแค่ประมาณ 45-60 วันเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับฤดูที่ปลูก) และที่สำคัญคือ หากยิ่งปลูกได้น้ำหนักดีก็จะได้ราคาดีมากขึ้น เพราะว่ากะหล่ำดอกนั้นขายโดยการชั่งน้ำหนักทั้งต้นรวมใบ ซึ่งกะหล่ำดอกที่แปลงตนเองนั้นได้น้ำหนักต่อหัวถึง 2 กก. เลยทีเดียว 

 

       ผลผลิตของคุณอิ๋ว การันตีคุณภาพด้วยการหาตลาดเองแบบไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง มาดูกันว่า เธอมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้การปลูกกะหล่ำดอกกลายเป็นเรื่องง่าย แถมยังได้น้ำหนักดีถึง 4 ตัน/ไร่! 

แปลงกะหล่ำดอกพื้นที่ 2 ไร่ของคุณอิ๋ว

 

 

เลือกสายพันธุ์ต้องเหมาะกับฤดู 

ปัจจัยสำคัญให้พืชเติบโตดี-ลดความเสี่ยงเรื่องโรค 

 
       การเลือกสายพันธุ์ของกะหล่ำดอกนั้นมีความสำคัญมาก โดยเกษตรกรต้องเลือให้เหมาะกับช่วงเวลาที่ปลูก เพราะแต่ละสายพันธุ์นั้นถูกพัฒนาให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศไม่เหมือนกัน หากเกษตรกรเลือกปลูกสายพันธุ์ได้เหมาะสม จะช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ สามารเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกสม่ำเสมอ และไม่เป็นโรคง่าย  

 

       หากปลูก “ช่วงฤดูหนาว” (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) คุณอิ๋ว จะปลูกกะหล่ำดอกสายพันธุ์ “พอลล่า” มีจุดเด่นคือ หน้าดอกแน่น กลมนูน สีขาวสวย และนํ้าหนักดี  มีใบห่อหุ้มดอกสม่ำเสมอ ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็น และทนทานต่อโรค มีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 55-60 วัน หลังย้ายกล้า 

กะหล่ำดอกสายพันธุ์ “พอลล่า” เหมาะกับปลูก “ช่วงฤดูหนาว” (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์)

มีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 55-60 วัน หลังย้ายกล้า

 

 

       แต่หากปลูก “ช่วงฤดูร้อน-ฤดูฝน” (มีนาคม-ตุลาคม) จะเลือกปลูกกะหล่ำดอกสายพันธุ์ “สตาร์” มีจุดเด่นคือ ดอกกลมนูนแน่น น้ำหนักดี เป็นที่ต้องการของตลาด และที่สำคัญคือ ทนร้อน ทนฝน จึงตอบโจทย์สภาพอากาศของบ้านเราได้เป็นอย่างดี มีอายุเก็บเกี่ยวเพียง 45-55 วัน หลังย้ายกล้า

กะหล่ำดอกสายพันธุ์ “สตาร์” เหมาะกับ “ช่วงฤดูร้อน-ฤดูฝน” (มีนาคม-ตุลาคม) มีอายุเก็บเกี่ยวเพียง 45-55 วัน หลังย้ายกล้า


  

       การปลูกกะหล่ำดอกนั้นไม่ควรปลูกซ้ำบนพื้นที่เดิม เนื่องจากจะเสี่ยงต่อโรคพืช คุณอิ๋วึงปลูกกะหล่ำดอกสลับแปลงกับการทำนา หมุนเวียนปีละประมาณ 3 รอบ ครบทั้ง 3 ฤดู ซึ่งการปลูกในฤดูร้อนและฤดูฝนนั้นจค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกทำให้อากาศชื้น ทำให้กะหล่ำดอกเป็นโรคง่าย หากเกษตรกรสามารถปลูกในช่วงเวลานี้ได้สำเร็จ ก็มีแนวโน้มจะได้ราคาที่ดี เพราะว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งคุณอิ๋วเผยว่า การเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพอากาศนั้นจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องนี้มาก เนื่องจากจะทำให้กะหล่ำดอกมีความทนทานต่อโรค และสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มากกว่า 

  

จัดการแปลงอย่างเหมาะสม 

ช่วยลดต้นทุนการดูแล ได้กะหล่ำดอกหัวใหญ่  

 

       การจัดการแปลงนั้นมีความสำคัญกับการปลูกพืชทุกชนิด โดยเฉพาะกับพืชผักอย่าง “กะหล่ำดอก” หากเกษตรกรมีการจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม จะช่วยในการลดต้นทุนการดูแลรักษาได้มาก เนื่จากจะทำให้ผักไม่เป็นโรคง่าย ทั้งยังเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้อีกด้วย 

 

       โดยการเตรียมแปลง คุณอิ๋วจะเริ่มจากการไถพรวนดินให้ร่วนซุยประมาณ 2-3 รอบ จากนั้นทำการยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยกร่องสูงประมาณ 50 ซม. ช่วยให้การระบายน้ำในแปลงดีขึ้น ดินแห้งไว และแปลงไม่ชื้น โดยก่อนปลูกจะตากดินไว้ประมาณ 15 วัน เพื่อลดเชื้อโรคในดิน จากนั้นจะทำการขุดหลุมเตรียมย้ายกล้า โดยจะเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 ซม.  

       คุณอิ๋ว เผยว่า เมื่อก่อนตนเองนั้นเคยใช้ระยะปลูกถี่กว่านี้ ตามรูปแบบการปลูกที่สืบทอดกันมาของเกษตรกรในพื้นที่ เพราะต้องการให้ได้จำนวนต้นที่มาก แต่เมื่อลองปรับใช้ระยะปลูกให้ห่างมากขึ้น กลับพบว่ากะหล่ำดอกนั้นมีขนาดใหญ่ และได้น้ำหนักที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากต้นสามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ทั้งยังใช้ปริมาณต้นกล้าที่น้อยลงกว่าเดิม ขณะที่เกษตรกรรายอื่นจะใช้ต้นกล้าประมาณ 4,000 – 5,000 ต้น/ไร่ แต่ตนเองนั้นใช้แค่ประมาณ 3,500 ต้น/ไร่ เท่านั้น ทำให้ช่วยลดต้นทุนการปลูกและการบำรุงได้มากขึ้น โรคพืชและแมลงก็น้อยลง เพราะว่าจำนวนต้นไม่หนาแน่นจนเกินไป

 

“กะหล่ำดอก” หน้าดอกแน่น กลมนูน ทำได้ไม่ยาก

แค่ดูแลตามช่วงการเจริญเติบโต

 

       ลักษณะของ “กะหล่ำดอก” ที่ได้รับความนิยมในตลาดคือต้องมีหน้าดอกแน่น กลมนูนเป็นทรงเจดีย์ สีขาวนวล และใบต้องหนาหุ้มดอกได้เต็มทั้งดอก ซึ่งเวลาขายนั้นจะขายพร้อมกันทั้งหัวและใบ หากใบสมบูรณ์ก็จะช่วยรักษาดอกระหว่างขนส่งได้ดี และในมุมของเกษตรกรก็ถือเป็นข้อดีด้วย เพราะว่าจะช่วยให้ขายได้น้ำหนักมากขึ้น

 

คุณอิ๋ว อธิบายว่า กะหล่ำดอกที่ส่งขายนั้นจะเก็บเกี่ยวทั้งหัวและใบ ซึ่งหากใบหนา ไม่หลุดร่วงง่าย ก็จะยิ่งได้น้ำหนักดี

 

 

       ทั้งนี้ การดูแลกะหล่ำดอกให้ได้คุณภาพ ต้องเริ่มบำรุงตั้งแต่ต้นยังเล็ก แม้ว่าจะยังไม่เริ่มเห็นดอก เพราะหากต้นขาดธาตุอาหาร จะทำให้การเจริญเติบโตของดอกกะหล่ำช้าลง ดอกเบา เกาะตัวไม่แน่น ซึ่งคุณอิ๋วจะแบ่งการบำรุงตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้

 

       - หลังจากย้ายกล้าประมาณ 3 วัน จะฉีดพ่นด้วยด้วย “อโทนิค” อัตราใช้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยเพิ่มปริมาณรากฝอย ให้พืชดูดซับธาตุอาหารได้มากขึ้น ทำให้ต้นโตได้ไว ควบคู่กับ “นูริช” อัตราใช้ 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเสริมธาตุแคลเซียม-โบรอนให้กับพืช ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันต้นปริแตก

 

       คุณอิ๋ว เผยเคล็ดลับว่า “พี่จะฉีดพ่นทั้ง “อโทนิค” และ “นูริช” ทุกๆ 7-10 วัน/ครั้ง จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเลยค่ะ เพราะการเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นนั้นก็เหมือนการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้พืช และเมื่อต้นแข็งแรงก็จะทนต่อโรคได้ดี ลดปัญหาเรื่องผักเน่าได้มากค่ะ”

       - หลังย้ายกล้า 5-10 วัน จะเริ่มใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 15-20 กก./ไร่ เพื่อให้ต้นอ่อนของกะหล่ำดอกแข็งแรง รากเดินดี ต้นตั้งตัวได้ไว โดยวิธีการใส่นั้นจะค่อยๆ โรยเม็ดปุ๋ยกองไว้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อไม่ให้เม็ดปุ๋ยติดค้างตามซอกใบจนอาจเป็นสาเหตุให้ผักเน่าได้

       ซึ่งคุณอิ๋ว จะมีเทคนิคการใส่ปุ๋ยที่ง่ายและประหยัด โดยการประดิษฐ์ “เครื่องใส่ปุ๋ยแบบประยุกต์” ด้วยวัสดุเพียง 2 ชนิด คือ 1) “ถุงย่ามที่ทำจากกระสอบปุ๋ย” และ 2) “ท่อพีวีซี” ความยาวประมาณ 2 ฟุต สำหรับทำเป็นหัวจ่ายปุ๋ย ช่วยให้การใส่ปุ๋ยสะดวกขึ้น ไม่ต้องก้ม-เงยตัวทุกครั้งที่โรยปุ๋ย

 

       โดยวิธีการใช้ขั้นแรกจะใส่ปุ๋ยลงในย่าม กะปริมาณให้พอสะพายไหว จากนั้นให้ผู้ใช้วาง “นิ้วโป้ง” กั้นช่องที่เจาะไว้ช่วงต้นของท่อ ซึ่งนิ้วมือนั้นจะเปรียบเสมือน “วาล์วปิด-เปิด” ควบคุมปุ๋ยที่อยู่ในถุงย่าม หากยกนิ้วขึ้นเม็ดปุ๋ยจะไหลลงไปตามท่อ แต่หากกดนิ้วลง นิ้วนั้นก็จะกั้นเม็ดปุ๋ยไว้ไม่ให้ร่วงลงพื้น

“นิ้วโป้ง” จะทำหน้าที่กั้นเม็ดปุ๋ยไม่ให้ร่วงไปตามท่อ เมื่อต้องการใส่ปุ๋ยก็เพียงยกนิ้วขึ้น เม็ดปุ๋ยก็จะถูกลำเลียงไปตามท่อทันที

 

 

       - หลังย้ายกล้า 14-15 วัน ลำต้นกะหล่ำดอกจะเริ่มตั้งตรงลักษณะคล้ายต้นคะน้า ให้เพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู เป็นอัตรา 30 กก./ไร่ เพื่อให้ต้นอวบแข็งแรง ใบเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี

       - หลังย้ายกล้า 21 วัน ใบของกะหล่ำดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามืออย่างชัดเจน และเริ่มแผ่ออกด้านข้างมากขึ้น จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ เช่นเดิม เพื่อให้ใบของกะหล่ำดอกเขียว หนา แข็งแรง เตรียมพร้อมในการสะสมอาหารเพื่อสร้างดอก

       - หลังย้ายกล้า 30 วัน กะหล่ำดอกจะเริ่มมีดอกขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม. จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ เพื่อให้พืชมีธาตุอาหารเพียงพอที่จะไปเลี้ยงดอก

       ทั้งนี้ ใน “ระยะดอกเล็ก” ถือเป็น “ช่วงเปราะบาง” ของกะหล่ำดอก เนื่องจากดอกและใบที่แตกใหม่นั้นจะอ่อนแอ ถูกศัตรูพืช-โรคพืชเข้าทำลายได้ง่าย ดังนั้น การบำรุงในช่วงนี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพความพร้อมของพืช

 

       โดยคุณอิ๋ว แนะนำให้เกษตรกรสังเกตความพร้อมของ “ใบ” ว่าควรให้น้ำและบำรุงหรือไม่ หากกะหล่ำดอกมีใบที่ใหญ่ แต่ยังบางและเป็นสีเขียวตองอ่อน แสดงว่าการเจริญเติบโตยังไม่สมดุล ต้นจะอ่อนแอ ควรงดการให้น้ำ-ใส่ปุ๋ย ประมาณ 2-3 วัน รอจนใบเริ่มหนา สีเขียวเข้มมีฝ้าสีขาวๆ หรือที่เรียกว่า “ขึ้นนวล” จึงค่อยเริ่มบำรุงต่อ

 

       - หลังย้ายกล้า 40 วัน เป็นช่วงที่ดอกของกะหล่ำดอกเริ่มขยายใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. ขึ้นไป จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ ความถี่ทุก 7-10 วัน/ครั้ง เรื่อยไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เพื่อให้บำรุงให้หน้าดอกใหญ่ กลมนูน และแน่น อีกทั้งยังช่วยให้ขั้วใบเหนียวแข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่ายขณะเก็บเกี่ยวอีกด้วย

       คุณอิ๋ว เผยว่า สมัยก่อนที่ใช้ปุ๋ยยี่ห้ออื่นกะหล่ำดอกที่แปลงมักมีปัญหา “รากเน่า-โคนเน่า” และ “ไส้กลวง” โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่พอมีทีมส่งเสริมของเจียไต๋ เข้ามาแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ซึ่งมี “แคลเซียม-โบรอน” ก็แทบไม่เจอปัญหานี้อีกเลย นอกจากนี้ เม็ดปุ๋ยยังละลายง่าย ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารไว ลำต้น ใบ และดอกแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้มีน้ำหนักดีขึ้นอย่างชัดเจน จากรุ่นพ่อ-แม่ที่เคยปลูกจะได้น้ำหนักสูงสุดประมาณ 2-3 ตัน/ไร่ น้ำหนักต่อหัวอยู่ที่ 1กก. แต่ปัจจุบันตนเองทำได้ถึง 4 ตัน/ไร่ ส่วนน้ำหนักต่อหัวก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 กก. ช่วยให้ผลผลิตสามารถขายได้ราคาดีขึ้นมาก

หลังจากใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู แล้ว กะหล่ำดอกของคุณอิ๋ว

มีน้ำหนักดีขึ้นอย่างชัดเจน และแทบไม่พบปัญหารากเน่า-โคนเน่าอีกเลย

 

 

ผลผลิตมีคุณภาพ

หาตลาดเอง ได้กำไรดีกว่า

 

       ในอดีตคุณอิ๋ว จะขายผลผลิตโดยผ่านพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อตามแปลง เนื่องจากยังไม่รู้แหล่งจำหน่าย แต่ก็ต้องแลกกับการหักค่าดำเนินการประมาณ 1-2 บาท/กก. พอเริ่มปลูกได้สักระยะจึงมีความคิดอยากลองขายเองดูบ้าง จึงออกไปสำรวจตลาดว่ามีความต้องการผลผลิตแบบไหน ซึ่งด้วยความที่ยังไม่มีผู้รับซื้อเจ้าประจำมาก่อน ในครั้งแรกๆ จึงยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าตลาดเล็กน้อย เพื่อสร้างฐานลูกค้า แต่หลังจากรู้จักช่องทางการขาย ประกอบกับเริ่มมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตของตนเอง จึงกล้าต่อรองราคามากขึ้น

กะหล่ำดอกที่มีสีขาวนวล กลมนูนแน่น ในแบบที่ตลาดต้องการ

 

 

       คุณอิ๋ว เผยว่า ราคาเฉลี่ยของกะหล่ำดอกจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 บาท/กก. โดยในปี 64 นั้นสามารถขายได้ถึง 25 บาท/กก. ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตประมาณไร่ละ 8,000 - 10,000 บาท ก็ถือว่าได้กำไรไม่น้อย โดยกะหล่ำดอกที่มีสีขาวนวล กลมนูนแน่น จะสามารถนำไปขายต่อง่ายและได้กำไรดี ทำให้พ่อค้ายินดีรับซื้อผลผลิตในราคาที่สูง ดังนั้น เกษตรกรควรรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด จะทำให้ได้เปรียบเรื่องราคาและไม่ถูกเอาเปรียบได้ง่าย

 

       เคล็ดลับการดูแลกะหล่ำดอกในฉบับของคุณอิ๋วนั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรงให้กับพืชในทุกระยะการเจริญเติบโต ควบคู่กับการเรียนรู้ธรรมชาติของกะหล่ำดอก ว่าช่วงใดเป็นช่วงเปราะบาง ช่วงใดควรบำรุง หรือช่วงใดควรงด สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และความใส่ใจอย่างมาก เพื่อให้ได้กะหล่ำดอกที่น้ำหนักดี และมีคุณภาพเป๊ะทั้งหน้าดอกและใบ จนสามารถขายได้อย่างมั่นใจตลอดทั้งปี

 

สามารถติดตามสาระเกษตรน่ารู้ ได้ที่   

คลิก “เทคนิคการปลูกและการบำรุงกะหล่ำดอก ให้หน้าดอกแน่น กลมนูน น้ำหนักดี ขายได้ราคา 

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ข้อมูลสินค้า และข่าวสารจากปุ๋ยตรากระต่าย เพิ่มเติมได้ที่   

Facebook: www.facebook.com/puitrakratai/   

YouTube: www.youtube.com/c/Puitrakratai   

TikTok: https://www.tiktok.com/@puitrakratai   

ข้อมูลสินค้าปุ๋ยตรากระต่าย: https://www.chiataigroup.com/business/fertilizer/Puitrakratai-Fruits-Vegetables